วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 1 ท่องเที่ยวคูบัว

คำขวัญประจำตำบลคูบัว

“ เมืองโบราณ ย่านผ้าจก ยกวัฒนธรรม
ตำข้าวซ้อมมือ ยึดถือประเพณีไทย
ร่วมใจพัฒนา ใฝ่หาคุณธรรม ”

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 2 วัดในตำบลคูบัว


วัดโขลงสุวรรณคีรี

วัดเก่าแก่ที่เป็นที่ค้นพบเมืองโบราณ ปัจจุบันยังได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ของโบราณของตำบลด้วย มีพระครูใบฎีกาสุพจน์
เป็นเจ้าอาวาส






วัดคูบัว
เป็นวัดประจำตำบล มีพระครูใบฎีกาสฤษดิ์ มนาโป
เป็นเจ้าอาวาส









วัดแคทราย
มีพระครูพิพัฒน์ศาสนการ (เจ้าคณะตำบลคูบัว เขต 1)
เป็นเจ้าอาวาส





บทที่ 3 เมืองโบราณคูบัว




เมืองโบราณคูบัว


เมืองโบราณคูบัว เป็นอาคารพุทธศาสนาเนื่องในลัทธิมหายานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง จากร่องรอยหลักฐานที่ปรากฎให้เห็น สันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นฐานของวิหาร เนื่องจากมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดขึ้นไปสู่ลานประทักษิณชั้นบนทางด้านทิศตะวันออก ฐานประดับด้วยซุ้ม และเสาอิงที่แต่เดิมเคยมีรูปพระโพธิสัตว์ทำด้วยปูนปั้นประดับตกแต่ง เพราะว่าปัจจุบันยังมีรูปพระโพธิสัตว์ทำด้วยปูนปั้นประดับตกแต่งที่มีลักษณะ และสัดส่วนที่เข้ากันได้กับซุ้ม และเสาอิงที่เก็บรักษาไว้ที่วัดโขลงสุวรรณคีรีบางส่วน

***************************************





เมืองโบราณคูบัวลักษณะฐานเช่นนี้คล้ายคลึงกับฐานของโบราณสถานคลังในกลางเมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ที่สร้างขึ้นเนื่องในวัฒนธรรมทวารวดีเช่นเดียวกัน และนอกจากนี้ยังได้พบพระโพธิสัตว์สำริดขนาดเล็กที่มีลักษณะ และรูปแบบคล้ายคลึงกันกับประติมากรรมที่พบที่บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศิลปะที่สร้างขึ้นเนื่องในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานนิกายวัชรที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในอินเดีย และชวาภาคกลางในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 - 15


*************************************************




เมืองโบราณคูบัวเมืองโบราณคูบัว ปัจจุบันตั้งอยู่ในท้องที่ ต.คูบัว เขต อ.เมืองราชบุรี โดยอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดราชบุรีไปทางด้านทิศใต้ ประมาณ 8 กม. มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน ขนาดกว้างประมาณ 800 เมตร ยาว ประมาณ 2,000 เมตร




**************************************************



เมืองโบราณคูบัววัสดุที่มีการนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารศาสนาสถานของเมืองโบราณคูบัวนั้น ส่วนใหญ่นิยมก่อด้วยแผ่นอิฐขนาดใหญ่ซึ่งทั่วไปมีขนาดโดยประมาณ กว้าง 17 ซม. ยาว 35 ซม. และหนา 10 ซม. เนื้ออิฐผสมด้วยแกลบข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ ใช้ดินเนียวเนื้อละเอียดผสมยางไม้หรือน้ำอ้อยเป็นดินสอ หรือตัวประสาน การเรียงอิฐใช้วิธีการเรียงตามแนวยาววางสลับกับแนวกว้างในชั้นเดียวกัน สำหรับส่วนฐานล่างสุดของอาคารศาสนสถานเท่าที่มีการพล ส่วนใหญ่มักใช้อิฐก่อเช่นเดียวกันกับส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไป


**********************************************















































































วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 4 จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว

จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ราชบุรี
























แสดงถึงภูมิปัญญาสมัยทวารวดี

(โคกจำลอง)











แสดงเครื่องมือทำมาหากิน

(เครื่องไถนา)